ฝุ่นละออง PM2.5 ปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุข
ฝุ่นละออง PM2.5 กลายเป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน โดยข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า คนไทยกว่า 10.5 ล้านคน ป่วยด้วยโรคที่เชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศในปี 2566 ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 116% ซึ่งโรคที่พบนั้นก็รวมถึงโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ โรคหอบหืดและโรคหัวใจ เป็นต้น
ฝุ่นละออง PM2.5 ทำไมถึงมีอานุภาพร้ายแรง
ฝุ่นละออง PM2.5 มีอานุภาพร้ายแรงต่อสุขภาพ เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง และการที่มีขนาดเล็กก็ยังทำให้มีพื้นที่ผิวมาก จึงเป็นแหล่งยึดเกาะของเชื้อก่อโรค สารพิษ และโลหะหนักต่างๆ เมื่อฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้เกิดความผิดปกติตามมาหลายประการ เช่น ทำให้เกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในเนื้อเยื่อของหลอดลมและปอด รบกวนการทำงานของระบบประสาทและฮอร์โมน ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด เป็นต้น จึงทำให้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เกิดการกำเริบหรือกลับเป็นซ้ำได้ถี่และรุนแรงขึ้น
เหลียนฮัว ชิงเวิน ทางเลือกในการปกป้องและบรรเทาอาการทางเดินหายใจจาก PM2.5
เหลียนฮัว ชิงเวิน (Lianhua Qingwen) เป็นยาสมุนไพรจีนสิทธิบัตร ซึ่งได้รับพิสูจน์มาแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการต้านไวรัส ต้านการอับเสบ ดูแลปกป้องภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินหายใจ และมีการใช้อย่างกว้างขวางในการรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 ไซนัสอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นต้น
สำหรับกลไกทางเภสัชวิทยาของเหลียนฮัว ชิงเวิน ต่อการบาดเจ็บของปอดที่เกิดจากฝุ่นละออง PM2.5 นั้น จากการศึกษาในหนูทดลองที่สัมผัสกับ PM2.5 และได้รับเหลียนฮัว ชิงเวิน ในปริมาณต่างๆ (2, 4, 8 กรัมต่อกิโลกรัม) หรือยาหลอก พบว่าเหลียนฮัว ชิงเวิน ในปริมาณปานกลางและสูง สามารถลดระดับสารสื่อการอักเสบ IL-17 และ Surfactant Protein A (SP-A) และสารเมทาบอไลท์จาก Oxidative Stress ได้แก่ Malondialdohyde (MDA) ที่ถูกเหนี่ยวนำขึ้นหลังการสัมผัสกับ PM2.5
นอกจากนี้ การตรวจลักษณะพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อปอดยังพบว่า กลุ่มที่ได้รับเหลียนฮัว ชิงเวิน ล่วงหน้า 3 วันมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มที่ไม่ได้สัมผัสกับ PM2.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเหลียนฮัว ชิงเวิน มีศักยภาพในการปกป้องและบรรเทาอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจจาก PM2.5
คนกลุ่มใดมีความเสี่ยงสูงต่อ PM2.5
- เด็กเล็ก ซึ่งมีอัตราการหายใจสูงกว่าผู้ใหญ่
- หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลต่อทารกในครรภ์และเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
- ผู้สูงอายุ ซึ่งระบบทางเดินหายใจมีความเสื่อมตามวัย
- ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง อาทิ ตำรวจจราจร พนักงานกวาดถนน พ่อค้าแม่ค้าริมทาง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนงานก่อสร้าง ฯลฯ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว 5 กลุ่มโรค คือ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ (ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหืด) กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มผู้ที่แพ้อากาศ และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ
อาการผิดปกติของทางเดินหายใจจาก PM2.5
ฝุ่น PM2.5 สามารถทำให้เกิดการอักเสบใน 2 รูปแบบคือ
- อักเสบเฉียบพลัน มีอาการจาม คัดจมูก แสบตา คันตา น้ำมูกไหล ยิ่งคนที่เป็นหอบหืดจะเหนื่อยขึ้นจากภาวะหลอดลมตีบ อักเสบ หายใจมีเสียงหวีด ส่วนคนที่ไม่เคยเป็นหอบหืดมาก่อนหรือคนที่เป็นหอบหืดตอนเด็ก หายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ที่สูงจะมีผลกระตุ้นให้โรคกลับมาเป็นซ้ำหรือพัฒนาเป็นโรคใหม่ได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบกับภูมิแพ้ผิวหนัง โดยอาจกระตุ้นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังและลมพิษได้
- อักเสบเรื้อรัง มีอาการคัดจมูกมากจนทนไม่ไหว ปวดมาก ปวดซีกเดียว มีมูกสีเหลืองเขียวออกมา การได้กลิ่นลดลง ซึ่งเป็นอาการของโพรงไซนัสอักเสบหรือภูมิแพ้กำเริบรุนแรง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดการอักเสบเรื้อรังในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดเซลล์ผิดปกติกลายเป็นมะเร็งต่างๆ ในอนาคต อาทิ มะเร็งปอด เป็นต้น
หากคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือเริ่มมีอาการผิดปกติจาก PM2.5 อย่านิ่งนอนใจ ผลกระทบที่ตามมาร้ายแรงกว่าที่คิด ควรเร่งป้องกันและดูแลโดยเร็ว
เอกสารอ้างอิง
Ping F, Li Z, Zhang F, Li D, Han S. Effects of Lianhua Qingwen on Pulmonary Oxidative Lesions Induced by Fine Particulates (PM2.5) in Rats. Chin Med Sci J 2016;31(4):233-8. (In eng). DOI: 10.1016/s1001-9294(17)30006-8.